Green and Climate Technology

        เป็นเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่ได้แนวคิดจากการนำองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี ที่ส่งผลดีต่อองค์กรและสิ่งแวดล้อม และนับเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการจัดหาแหล่งพลังงานทางเลือก การลดของเสีย การจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงคาร์บอนเครดิต ที่ได้รับความสนใจจากนานาประเทศ เพราะสภาวะมลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในระดับโลก

บริการด้านเทคโนโลยีสีเขียว

ออกแบบและติดตั้งระบบควบคุมการคัดแยกขยะ เพื่อนำไปทำเป็นเชื้อเพลิง
(Refuse-Derived Fuel)

     จากสภาวะปัญหาขยะที่เกิดขึ้นมากมาย ส่งผลให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม สยาม ทีซี เทคโนโลยี ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงนำเทคโนโลยีที่มีมาประยุกต์ใช้กับระบบจัดการขยะ ทำให้ตอบโจทย์หน่วยงาน อบจ. แห่งหนึ่ง เลือกใช้สยาม ทีซี เทคโนโลยี ดำเนินโครงการคัดแยกขยะด้วยเทคโนโลยีขึ้นสูง ด้วยการออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมโรงงานคัดแยกขยะ พร้อมทำการปรับเปลี่ยนสภาพขยะให้กลายเป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากขยะ (RDF) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมในการช่วยลดมลภาวะ ได้รักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการแปรสภาพขยะที่มีให้เกิดประโยชน์ รวมถึงการก่อให้เกิดประโยชน์ด้านคาร์บอนเครดิต

     อ้างอิงจากโครงการดังกล่าว ที่มีปริมาณขยะกว่า 160 ตันต่อวัน นำมาคำนวณค่าคาร์บอนเครดิต 0.5 – 0.6% ต่อตันต่อวัน หากคิดรวมทั้งปีจะได้คาร์บอนเครดิตถึง 30,000 – 40,000 ตันต่อปี

การปลูกป่าเพื่อประโยชน์ด้านคาร์บอนเครดิต
(Forestation)

     สยาม ทีชี เทคโนโลยี มีเป้าหมายในการร่วมปลูกป่าชายเลนให้ได้ 200,000 ไร่ จึงได้ทำการลงนามเข้าร่วมโครงการพื้นที่ปลูกป่าชายเลน กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต โดยได้รับสิทธิ์ในพื้นที่ ตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบันแล้ว จำนวนกว่า 100,000 ไร่

     ทั้งนี้มีระยะเวลาในการดูแลรักษาป่า 30 ปี เพื่อตามเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอนของประเทศไทย มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปีค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ใน ปี ค.ศ.2065 ตามเจตจำนงที่ประเทศไทยได้แสดงเจตนารมณ์ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา

     สำหรับพื้นที่ที่ได้รับอนุมัตินั้น ถือเป็นการได้มาซึ่งสิทธิในการปลูกป่าและดูแลรักษาป่าชายเลนให้กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเวลา 30 ปี ฉะนั้นในพื้นที่ตรงนี้ผู้ที่ได้รับอนุมัติโครงการไม่มีสิทธิ ไปล้อมรั้วหรือไปปิดกั้นคนในชุมชน ในทางกลับกันคนในชุมชนทุกคนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ทั้งการทำเกษตรกรรม ทำประมงพื้นบ้าน จับสัตว์น้ำได้เหมือนเดิม ทางบริษัทมีหน้าที่ดูแลรักษาป่าชายเลนให้มีทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระบบนิเวศน์สมบูรณ์ขึ้นเพื่อประโยชน์ของชุมชนต่อไป